กำหนดการสำคัญ
   ประกาศรับบทคัดย่อ
    15 พฤศจิกายน 2557
   กำหนดปิดรับบทคัดย่อ
  
 วันที่ 30 มกราคม 2558
   ประกาศผลตอบรับบทคัดย่อ
    วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2558
   ส่งบทความฉบับสมบูรณ์
    ภายในวันที่ 16 เมษายน 2558
   ประกาศผลการพิจารณาบทความ
    วันที่ 15 พฤษภาคม 2558
 
 

การส่งบทคัดย่อ

          ส่งบทคัดย่อ ภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ ในรูปแบบ MsWord ความยาวไม่เกิน 1 หน้ากระดาษ A4 หรือ 500 words (ขนาดอักษร 16) ระบุรายละเอียดเกี่ยวกับผู้เขียน และผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ดังนี้

  1. ชื่อบทความ
  2. ชื่อผู้เขียน ตำแหน่ง หน่วยงานต้นสังกัด
  3. เบอร์โทรศัพท์ติดต่อ และ E-mail address

          ส่งบทคัดย่อมาที่ RILCA2015@gmail.com ภายในวันที่ 15 มกราคม 2558
          ประกาศผลตอบรับบทคัดย่อทาง E-mail ภายในวันที่ 31 มกราคม 2558

          คณะกรรมการจัดการประชุมขอสงวนสิทธิ์ในการไม่พิจารณาบทคัดย่อที่ส่งเกินระยะเวลาที่กำหนด ผู้ที่ได้รับการตอบรับให้ส่งบทความฉบับสมบูรณ์ จะได้รับรหัสเพื่อใช้แทนชื่อผู้เขียนในการส่งบทความฉบับสมบูรณ์

การส่งบทความฉบับสมบูรณ์
          ให้ใช้รูปแบบตามที่คณะกรรมการฯ กำหนด ดังนี้

  • ใส่รหัสที่ได้รับจากการตอบรับบทคัดย่อที่หัวกระดาษ (Heading) แทนการใส่ชื่อผู้เขียน
  • บทความเขียนเป็นภาษาไทย ใช้ตัวอักษร CordiaUPC ขนาด 16 point ตลอดทั้งบทความ
  • ความยาวของบทความฉบับสมบูรณ์ในรูปแบบ MsWord ควรมีความยาวไม่น้อยกว่า 30,000 characters แต่ไม่เกิน 35,000 characters (with spaces) รวมรายการเอกสารอ้างอิง
  • ใช้เลขอารบิกเท่านั้น
  • ใส่เลขหน้าทุกหน้าที่มุมล่างขวา
  • หน้าแรกให้ใส่ชื่อบทความ บทคัดย่อ และคำสำคัญ (keywords) และให้เริ่มเนื้อหาบทความในหน้าที่สอง
  • เนื้อหาบทความควรประกอบด้วย ความเป็นมาของประเด็นที่นำเสนอในบทความ แนวความคิด ทฤษฎีที่นำมาใช้ ข้อโต้แย้ง (argument) ข้อมูลสนับสนุน สรุปผลและรายการเอกสารอ้างอิง
  • การอ้างอิงในเนื้อหาใช้ระบบนามปี (author-date in-text citation)
  • การเขียนบรรณานุกรมใช้ระบบ APA (American Psychological Association)

          ส่งบทความฉบับสมบูรณ์มาที่ RILCA2015@gmail.com ภายในวันที่ 31 มีนาคม 2558

          บทความฉบับสมบูรณ์ที่ส่งภายในเวลาที่กำหนดทุกฉบับ จะได้รับการพิจารณากลั่นกรองคุณภาพโดยผู้ทรงคุณวุฒิ โดยไม่มีการเปิดเผยชื่อผู้เขียน และไม่เปิดเผยชื่อผู้ทรงคุณวุฒิ (Double Blind Peer Review) และจะ ประกาศผลการพิจารณาบทความให้ผู้เขียนทราบทาง E-mail ภายในวันที่ 15 พฤษภาคม 2558

          บทความที่ได้รับการตอบรับให้นำเสนอผลงานในที่ประชุมมี 2 แบบ คือ

  1. การนำเสนอแบบบรรยาย (Oral Presentation) หรือ
  2. การนำเสนอผลงานแบบโปสเตอร์ (Poster Presentation)

          ทั้งนี้ การตอบรับให้นำเสนอผลงานแบบใดขึ้นอยู่กับการพิจารณาของคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ บทความคุณภาพดีจากการประชุมจำนวน 20 บทความ จะได้รับการคัดเลือกตีพิมพ์เป็นหนังสือ ภายหลังการประชุม

รายละเอียดการส่งบทความฉบับสมบูรณ์

  1. ในบทความฉบับสมบูรณ์ขอให้พยายามเชื่อมโยงแนวความคิดตามหัวข้อย่อยดังต่อไปนี้
    • อำนาจและการบริหารองค์การ
    • การสอนภาษา
    • การแปล
    • การล่าม
    • การสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม
    • ภาษาและการปฏิสัมพันธ์ทางสังคม
    • การสื่อสารและอำนาจ
    • การรู้เท่าทันสื่อ
    • สื่อใหม่และอำนาจ
    • วัฒนธรรมชายขอบ
    • วัฒนธรรมการต่อต้าน
    • วัฒนธรรมกับความรุนแรง
    • เพศภาวะ ชนชั้น ชาติพันธุ์และการเบียดขับ
    • ร่างกายกับอำนาจ
    • การเมืองเรื่องพื้นที่
    • การเมืองเรื่องภาพแสดงแทน
    • อารมณ์ขันกับการต่อต้านขัดขืน
    • การวิเคราะห์ภาษาและภาษาศาสตร์ในอาเซียน
    • ภาษากับการศึกษา
    • ความสำคัญของภาษากลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ
    • อิทธิพลของภาษาประจำชาติ ภาษาราชการ
    • ฯลฯ
  2. รูปแบบการเขียนบทความฉบับสมบูรณ์ ให้ใช้รูปแบบตามที่คณะกรรมการฯ กำหนด ดังนี้
    • ใส่รหัสที่ได้รับจากการตอบรับบทคัดย่อที่หัวกระดาษ (Heading) แทนการใส่ชื่อผู้เขียน
    • บทความเขียนเป็นภาษาไทย ใช้ตัวอักษรCordia UPC ขนาด 16 point ตลอดทั้งบทความ
    • ความยาวของบทความฉบับสมบูรณ์ในรูปแบบ MsWordควรมีความยาวไม่น้อยกว่า 30,000 characters แต่ไม่เกิน 35,000 characters (with spaces) รวมรายการเอกสารอ้างอิง
    • ใช้เลขอารบิกเท่านั้น
    • ใส่เลขหน้าทุกหน้าที่มุมล่างขวา
    • หน้าแรกให้ใส่ชื่อบทความ บทคัดย่อ และคำสำคัญ (keywords) และให้เริ่มเนื้อหาบทความในหน้าที่สอง
    • เนื้อหาบทความควรประกอบด้วย ความเป็นมาของประเด็นที่นำเสนอในบทความ แนวความคิด ทฤษฎีที่นำมาใช้ ข้อโต้แย้ง (argument) ข้อมูลสนับสนุน สรุปผลและรายการเอกสารอ้างอิง
    • การอ้างอิงในเนื้อหาใช้ระบบนามปี (author-date in-text citation)
    • การเขียนบรรณานุกรมใช้ระบบ APA (American Psychological Association)
    • บทความฉบับสมบูรณ์ไม่ควรอ้างอิงผลงานของผู้เขียนเองในอดีต
  3. ส่งบทความฉบับสมบูรณ์มาที่ <RILCA2015@gmail.com>ภายในวันที่ 31 มีนาคม 2558
  4. บทความที่ส่งภายในเวลาที่กำหนดทุกฉบับ จะได้รับการพิจารณากลั่นกรองคุณภาพโดยผู้ทรงคุณวุฒิ โดยไม่มีการเปิดเผยชื่อผู้เขียน และไม่เปิดเผยชื่อผู้ทรงคุณวุฒิ (Double Blind Peer Review) และจะประกาศผลการพิจารณาบทความให้ผู้เขียนทราบทาง E-mail ภายในวันที่ 15 พฤษภาคม 2558
  5. รูปแบบการนำเสนอ
    • แบบบรรยาย (Oral Presentation) ต้องนำเสนอด้วยโปรแกรม PowerPoint และเวลาในการนำเสนอเรื่องละ 15 นาที ตอบข้อซักถาม 5 นาที
    • แบบโปสเตอร์ (Poster Presentation)มีรายละเอียดดังนี้
      - พื้นที่บอร์ดสำหรับติดโปสเตอร์มีขนาดกว้าง 70 เซนติเมตร x ยาว 100 เซนติเมตร โปสเตอร์ควรมีขนาดไม่เกิน A1 (ประมาณ 60 เซนติเมตร x 84 เซนติเมตร)
      - กำหนดให้ติดโปสเตอร์และเก็บโปสเตอร์ตามเวลาที่กำหนด (ซึ่งจะแจ้งให้ทราบต่อไป)
  6. บทความฉบับสมบูรณ์ทุกชิ้นจะถูกรวมอยู่ในรายงานการประชุม (proceedings) และแจกให้ผู้เข้าร่วมประชุมในรูปแบบ CD
  7. ทางคณะผู้จัดการประชุม จะคัดเลือก บทความคุณภาพดีที่มีส่วนช่วยให้ผู้อ่านมีความเข้าใจแนวความคิดเรื่อง อำนาจไร้พรมแดน: ภาษา วัฒนธรรม การสื่อสารและอำนาจในชีวิตประจำวันจากการประชุมจำนวนประมาณ 20 บทความ ตีพิมพ์เป็นวารสารฉบับพิเศษ 2 เล่ม และตีพิมพ์ในวารสารวิชาการที่ร่วมโครงการ ภายหลังการประชุม

วารสารวิชาการที่ร่วมโครงการ (อยู่ในฐาน Thai-Journal Citation Index)

  1. วารสารภาษาและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยมหิดล (ISSN: 0125-6424)
  2. วารสารบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร มหาวิทยาลัยนเรศวร (ISSN: 1905-3746)
 
Copyright © 2015 RILCA Conference 2015. All rights reserved.